ในยุคปัจจุบันงานเขียนที่ท้าทาย ต่อต้านหรือฉีกกรอบศาสนานั้นเป็นเรื่องที่เราพบเจอได้โดยปกติทั่วไปแต่หากย้อนกลับไปสักศตวรรษหนึ่งแล้วนั้น งานเขียนรูปแบบดังกล่าวออกจากอันตรายและฉีกจากกรอบการยอมรับจากสังคมไปสักหน่อย ทั้งนักเขียนที่สร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้มักถูกแรงบีบจากสังคมรอบข้าง ไม่สามารถเขียนผลงานที่ต้องการได้เต็มที่เท่าไหร่นัก และหนึ่งในนั้นคือ แฮร์มัน คาร์ล เฮ็สเซอ (Hermann Karl Hesse) เจ้าของผลงาน สิทธารถะ และ เดเมียน อีกหนึ่งนักเขียนที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่เคร่งศาสนา แต่กลับสร้างงานเขียนที่ท้าทายความเชื่อเหล่านั้นออกมาในรูปแบบของตนเองให้นักอ่านได้ติดตามกัน
Hermann Karl Hesse นักเขียนที่ท้าทายความเชื่อและศรัทธาในศตวรรษที่ 18
หนังสือทั้งสองเล่มถูกเขียนขึ้นโดย แฮร์มัน คาร์ล เฮ็สเซอ (Hermann Karl Hesse) กวี นักเขียน และจิตรกรชาวเยอรมัน-สวิส เกิดเมื่อ 2 กรกฎาคม 1877 ณ เมืองคัล์ฟในจักรวรรดิเยอรมัน แฮร์มันโตมาในครอบครัวที่เคร่งเรื่องศาสนาถูกสั่งสอนว่าการรับใช้พระเจ้าคือเกียรติอันสูงสุด แต่สิ่งเหล่านี้กลับตรงกันข้ามกับตัวเขาที่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางอย่างที่ครอบครัวได้คาดหวังไว้ แม้ถูกส่งไปเรียนยังโรงเรียนโบสถ์มาวล์บรอนน์แต่เขาก็ยังตัดสินใจที่จะหนีออกมาในที่สุด
ด้วยเติบโตมาในตระกูลดังกล่าวทำให้งานเขียนของแฮร์มันได้รับอิทธิพลโดยตรง โดยงานเขียนของเขามักเป็นการนำเอาความเชื่อหรือปรัชญาทางศาสนามาผนวกกับความคิดอ่านของตัวเขาเอง โดยเฉพาะหนังสืออย่างเรื่อง สิทธารถะ ที่ตัวเขาเขียนขึ้นหลังจากได้ไปอาศัยอยู่ในอินเดีย ณ ช่วงเวลาหนึ่ง โดยได้นำเอาความเชื่อต่างๆ มาตีความและนำเสนอให้แบบของตนเองและนำเสนอผ่านหนังสือเล่มดังกล่าว ต่อมาภายหลังแฮร์มันได้ถูกเสนอชื่อและได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1945
สิทธารถะ และ เดเมียน 2 ผลงานที่ท้าทายความเชื่อละศาสนา
เดเมียน
เล่าถึงเรื่องราวของ เอมิล ซินแคลร์ เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่เคร่งศาสนาและมีความหมายของชีวิตยึดติดกับรากเหง้าของศาสนา จารีตอันดีงามของสังคม จนกระทั่งวันหนึ่งที่ เอมิล ซินแคลร์ได้พบกับ เดเมียน บุคคลแปลกประหลาดที่หลายๆ คนต่างพูดถึงเขากันหนาหู ทุกอย่างในตัวเขานั้นซับซ้อนและผิดแปลกจากที่เอมิลเข้าใจมาตลอดอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นมารยาท การพูดจา เพศ ล้วนแตกต่างจากสิ่งที่เขารู้จักและการได้พบเดเมียนทำให้ชีวิตของ เอมิล ซินแคลร์ต้องพบกับการตั้งคำถามมากมายตลอดจนนำมาสู่การเปลี่ยนมุมมองและความคิดที่จะส่งผลต่อเอมิลไปตลอด
สิทธารถะ
หนังสือเรื่องนี้แฮร์มันเขียนขึ้นหลังจากที่เขาได้ไปอาศัยที่อินเดียช่วงหนึ่ง โดยเป็นเรื่องราวของพราหมณ์”สิทธารถะ” กับ “โควินทะ” ที่ได้ออกบำเพ็ญเพียรติตามวิถีทางเพื่อค้นหาสัจธรรม ภายหลังทั้งคู่ได้พบกับพระพุทธเจ้าและได้สดับรับฟังธรรมมะ โควินทะเกิดความเหลื่อมใสและเดินในเส้นทางพุทธศาสนาแต่ก็ปราศจากความเข้าใจในสัจธรรมใดๆ ตรงกันข้ามกับ สิทธารถะ ที่ยังคงเดินในวิถีทางของตนเองและค้นพบสัจธรรมสำหรับตัวเขาเอง
ผลงานทั้งสองเล่มของแฮร์มันนั้นกล่าวได้ว่าเป็นงานที่ค่อนข้างอันตรายในยุคและสังคม ณ ตอนนั้น แต่ก็เป็นผลงานที่สื่อสารออกมาอย่างตรงไปตรงมาและให้ผู้อ่านได้ขบคิดถึงความเชื่อและกรอบของสังคมที่ผูกมัดผู้คนเอาไว้เช่นกัน และในปัจจุบันเองงานเขียนลักษณะนี้ก็เป็นที่ยอมรับมากขึ้นออย่างกว้างขว้าง นั้นจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่นิยายที่ถูกเขียนขึ้นมากว่าร้อยปีเหล่านี้จะยังคงถูกยกย่องมาจนถึงปัจจุบันค่ะ สำหรับใครที่อยากรู้จักนักเขียนท่านอื่นๆ ก็สามารถติดตามได้ที่ลิ้งค์ นักเขียน นี้เลยนะคะ และอย่าลืมติดตามบทความดีๆ ที่เรานำมาเสนอได้ใหม่นะคะ คิดจะ Read เลือก Reeeed นะคะ