หากกล่าวถึงนิยายสืบสวนสอบสวนโดยมีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นนักสืบแล้วล่ะก็ทุกคนย่อมนึกถึง “เชอร์ล็อกโฮมส์” นักสืบที่ดูไม่ค่อยเต็มเต็งแต่ฉลาดเป็นกรด ที่มาพร้อมกับคู่หูที่บ่นอยากแย่งทางกับเขาตลอดเวลาอย่าง “คุณหมอวัตสัน” เรื่องราวการไขคดีปริศนาที่แต่ละเหตุการณ์มีเงื่อนงำชวนฉงน แต่แท้จริงแล้วประกอบไปด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ที่สุดแสนฉลาด ทั้งหมดถูกแต่งขึ้นโดยชายนาม เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ( Sir Arthur Conan Doyle) และในวันนี้ Reeeed ก็จะพาทุกท่านไปรู้จักกับนักเขียนที่ได้สร้างผลงานระดับตำนานให้เราได้อ่านกัน ที่มาที่ไปของผู้ที่สร้างบุรุษนามเชอร์ล็อกโฮมส์
ประวัติของ เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ( Sir Arthur Conan Doyle)
เซอร์ อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ Arthur Ignatius Conan Doyle เป็นนักเขียน นักประวัติศาสตร์ แพทย์ เกิดเมื่อ 22 พฤษภาคม 1859 ที่เอดินบะระสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ครอบคัวของเขานั้นเป็นชาวไอริชที่มีฐานะร่ำรวยทั้งยังได้รับการยอมรับในวงการศิลปะจึงนับได้ว่าเป็นชนชั้นสูง พ่อเป็นศิลปิน ส่วนแม่นั้นเป็นนักเล่านิทาน
โคนัน ดอยล์ จบการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อจบก็ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ตามที่เรียนจบมา ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เขาเป็นคนมีเหตุผลและมีความคิดเป็นตรรกะอันดีเยี่ยม ระหว่างที่ทำงานเป็นแพทย์อยู่นั้นเขาก็เขียนหนังสือเล็กๆ น้อยๆ อยู่เสมอและได้ตีพิมพ์ลงในวารสารแชมเบอร์
โคนัน ดอยล์เริ่มต้นงานในด้านวรรณกรรมอย่างจริงจังในปี 1891 โดยเริ่มสร้างสรรค์ตัวละครอย่างเชอล็อคโฮมโดยเริ่มจากเรื่องสั้นชื่อ “A Study in scarlet” ตั้งแต่ปี 1887 ก่อนที่จะได้รับความนิยมอย่างสูงจนแต่งเป็นนิยาย 4 เล่ม และเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง เพราะความที่แตกต่างจากนิยายแนวรหัสคดีทั่วไปผู้คนมากมายจึงหลงไหลในเรื่องราวของโฮมล์และคู่หูอย่างวัตสันซึ่งดอยล์ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากอาจารย์ขณะที่ศึกษาแพทย์อยู่
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ดอยล์สูญเสียลูกชายไปในสงครามทำให้จิตใจของเขาได้รับการกระทบกระเทือนและหันไปศึกษาด้านธรรมมะและจิตวิญญาณ ก่อนที่ตัวเขาเองจะจบชีวิตลงเช่นกันหลังจากเขาร่วมส่งครามในเวลาต่อมา
เชอร์ล็อกโฮมส์ผลงานเลืองชื่อของ เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ( Sir Arthur Conan Doyle)
เป็นวรรณกรรมแนวรหัสคดีที่ดอยล์ได้ประพันธ์เอาไว้โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักสิบอัจฉริยะนามเชอร์ล็อกโฮมส์และเพื่อนคู่หูหมอวอตสัน หมอที่ต้องการเกษียณตัวเองหลังจากเข้าร่วมสงครามที่อัฟกานิสถาน แต่ต้องกลายเป็นเป็นคู่หูคอยสืบคดีคู่กับโฮมล์ โดยดอยล์ได้ประพันธ์เชอร์ล็อกโฮมล์ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง
ได้แก่ แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) , จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) , หมาผลาญตระกูล (The Hound of the Baskervilles) , หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) และเรื่องสั้นอีก 56 เรื่อง
โดยเนื้อหาส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับเหตุการณ์แปลกประหลาดลึกลับที่ทั่งคู่ต้องพบเจอและอาศัยการคิดวิเคราะห์ให้ได้มาซึ่งคำตอบ แม้ในเรื่องหมอวัตสันจะประเมินโฮมล์เอาไว้ว่าเขาเป็นพวกไม่เอาไหน แต่โดยรวมของเรื่องราวเราจะสังเหตุเห็นถึงทักษะการสังเกตุ ความรู้และความสามารถของโฮมล์ ซึ่งเมื่อนำมาควบคู่กับความรู้ของหมอวัตสันทำให้ทั้งสองสามารถไขคดีปริศนาได้อย่างมากมาย โดยคดีส่วนใหญ่มักปูปมมาให้เป็นสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ แต่สุดท้ายและเป็นดั่งมายากลที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างเรื่องราวขึ้นมาทั้งสิ้น
เรื่องราวของ เชอร์ล็อกโฮมส์ นั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่ว่าจะผ่านกาลเวลามานานเท่าไหร่แต่ก็ยังมีแฟนคลับนักอ่านนิยายเรื่องนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับนิยายนักสืบอีกหลายๆ เรื่อง เรียกได้ว่าแม้กาลเวลาจะผ่านแต่ความเก่าของเนื้อหาไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาเลยแม้แต่น้อย ใครที่อยากลองอ่านดูสักครั้ง อาจจะต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหาสักหน่อยนั้นเพราะด้วยตัวบุคคลิกของโฮมล์นั้นเป็นคนที่ค่อนข้างพิลึกอาจทำให้นักอ่านบางคนปวดหัวเอาได้ แต่ถ้าถึงตอนไขปริศนารับรองหลงเสน่ห์ตัวละครคนนี้แน่ๆ
สุดท้ายนี้ใครที่กำลังมองหาร้านหนังสือออนไลน์สามารถเข้ามาเลือกซื้อหนังสือได้ที่ Reeeed.com นะคะ เรามีหนังสือมากมายรอนักอ่านทุกท่านเข้ามาเลือกซื้ออยู่ ทั้งหนังสือเล่ม e book นิยายรายตอน หรือหากใครสนใจบทความนักเขียนท่านอื่นๆ สามารถเลือกอ่านได้ที่ article.reeeed นะคะ เรามีบทความน่าสนใจมานำเสนอกันอยู่เสมอ