“หนังสือ” สื่อชนิดหนึ่งที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ เอาไว้มากมาย ด้วยตัวอักษรที่ร้อยเรียงกัน ภาพวาดที่ถูกรวบรวมเป็นเล่มเดียวและยังกล่าวได้ว่าการเจริญขึ้นของอารยธรรมมนุษย์นั้น หนังสือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างอารยธรรมในปัจจุบันขึ้นมาได้ เพราะมนุษย์นั้นมีเวลาชีวิตจำกัดไม่สามารถมีชีวิตอยู่ไปได้ตลอดไป หากไม่มีการบันทึกองค์ความรู้เอาไว้สิ่งที่ถูกค้นพบก็จะตายจากไปพร้อมกับผู้ค้นพบเช่นกัน เพราะนั้นไม่ว่าผ่านมากี่ยุคสมัย “หนังสือ” ยังคงเป็นสื่งที่ส่งต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน นั้นจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่เราควรอ่านหนังสืออยู่เสมอ
โดยจุดเริ่มต้นของหนังสือนั้นริเริ่มตั้งแต่การจดบันทึกต่างๆ ที่แตกต่างกันไปแต่ละอารยธรรมและพัฒนามาจนมีเครื่องพิมพ์ที่ทำให้หนังสือแพร่หลายมากขึ้นและในวันนี้ Reeeed จะพาคุณย้อนอดีตไปทำความรู้จักกับหนังสือให้มากขึ้น ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสื่อชนิดนี้จนถึงปัจจุบัน ทุกช่วงสมัยที่หนังสือมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ทันสมัยและตามยุคอยู่เสมอ
จุดเริ่มต้นจาก 3500 ปีก่อนคริสกาล
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ณ ปัจจุบันที่มีการค้นพบ หนังสือในยุคแรกนั้นถูกเขียนขึ้นจากตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) โดยมีลักษณะการขีดเขียนบนดินเหนียวในพิมพ์สี่เหลี่ยม หลังจากนั้นจึงมีการนำไปเผาหรือตากแดดเพื่อให้แห้งและแข็งตัว ชื่อ Cuneiform นั้นมีพื้นฐานมาจากภาษาละตินด้วยลักษณะการเขียนที่มีการกดตัวหนังสือลงเหมือนมีการใช้ลิมในการกด
อักษรคูนิฟอร์มที่เก่าแก่ทึ่สุดในปัจจุบันที่ถูกค้นพบนั้นอาจจะเริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคสำริด ตัวอักษรคูนิฟอร์มคาดว่าถูกพัฒนาขึ้นมาพัฒนาการเขียนและบันทึกในภาษาสุเมเรียนของอาณาจักรเมโสโปเดเมียที่มีแนวความคิดว่าการเขียนคือการเรียนรู้ที่รวดเร็วที่สุดในสมัยนั้น
อักษรคูนิฟอร์มถูกค้นพบมากขึ้นในอารยะธรรมยุคหลังจากนั้นด้วย อาทิ ภาษาอัคคาเดียน , ภาษาฮิตไทต์ , หลูเวียน ในช่วง 2400 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นศิลาของอักษรคูนิฟอร์มที่อายุน้อยที่สุดนั้นถูกค้นพบมีอายุราว 75 ปีก่อนคริสตกาลและคาดว่าถูกเลิกใช้อย่างสิ้นเชิงหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว
การจดบันทึกกระดาษปาปิรุส Papyrus
กระดาษปาปิรุส นั้นคือการนำเปลือกของต้นกกนำไปแช่น้ำให้นิ่มแล้วลอกออกมาเป็นแผ่นๆ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาวอียิปป์ได้เริ่มใช้กระดาษปาปิรุส ซึ่งภายหลังกลายเป็นรากฐานของการทำกระดาษจากใยไม้ที่จะมาสั่นคลอนการทำกระดาษจากหนังสัตว์ โดยกระดาษปาปิรุสนั้นถูกนำมาใช้ในงานจดบันทึกต่างๆ โดยใช้อักษรไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ในการเขียน
ซึ่งแต่เดิมจะจดตามฝาผนังและเครื่องปั้นต่างๆ แต่เพราะกระดาษปาปิรุสมีราคาถูกและผลิตได้งรวดเร็วจึงได้ถูกนำมาใช้แทนในภายหลัง โดยนำมาซ้อนต่อๆ กันเรียกว่า “Volumen” (ภายหลังกลายมาเป็น “Volume”) กระดาษปาปิรุสถูกยกเลิกใช้ไปในอีกหลายปีต่อมาหลังจากที่ชาวจีนคิดค้นกระดาษขึ้นมา
หนังสือที่เริ่มเป็นเล่ม
ช่วงปี 950 หนังสือจากกระดาษทั้งหมดเล่มแรกๆ ของโลกนั้นถูกผลิตโดยชาวจีน ซึ่งแต่เดิมพวกเขาใช้การเขียนบนแผ่นไม้ในการจดบันทึกต่างๆ แต่ด้วยความไม่สะดวกเพราะต้องคลี่ม้วนออกและการหาจุดที่ต้องการจะอ่านนั้นทำได้ยาก ชาวจีนนามไซลันจึงได้คิดค้นการสร้างกระดาษจากเยื่อไม้และได้นำกระดาษดังกล่าวมาทำเป็นหนังสือ โดยได้นำกระดาษมาซ้อนทับกันพร้อมมีการระบุเลขหน้าเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลและจดบันทึก หนังสือในช่วงนี้นั้นถือว่าเป็นของชนชั้นสูง เนื่องจากต้องใช้การคัดลอกโดยใช้คนทั้งกระดาษเองก็ราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้ใช้ระยะเวลาและมีราคาแพง
จากแรงงานคนสู่เครื่องพิมพ์
ในยุคกลางช่วงแรกๆ นั้นก่อนได้รับวิทยาการในการกระดาษจากต้นไม้ได้มีการใช้กระดาษหนังสัตว์จากการนำหนังสัตว์ไปฝอกและทำให้แห้งแล้วนำมาใช้ในการเขียน ส่งสาร หรือจดบันทึกสิ่งที่สำคัญๆ เท่านั้น จนในศตวรรษที่ 15 โยฮันเนิส กูเทินแบร์ค เป็นบุคคลแรกๆ ที่นำเอาเอาแท่นโลหะมาเรียงต่อกันก่อนจะนำน้ำหมึกมาทาและเอากระดาษไปนาบกับแผ่นโลหะให้ออกมาตามต้องการ โดยในตอนนั้นเขาได้ดัดแปลงเครื่องคั้นน้ำองุ่นมาใช้ทำเป็นเครื่องพิมพ์ โดยผลงานแรกเป็นเป็นการพิมพ์ไบเบิร์ลออกมา 42 บรรทัด ภายหลัง กูเทินแบร์ค ยังได้คิดค้นทั้งรูปแบบการเรียงตัวอักษรบนเครื่งพิมพ์ที่ถูกดัดแปลงนำมาใช้จนถึงในยุคปัจจุบันอีกด้วยนั้นจึงกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เขาได้รับการเรียกขานว่า บิดาแห่งการพิมพ์ เพราะเป็นผู้ประวัติวงการพิมพ์จนมาถึงปัจจุบัน
จากอดีตจนถึงปัจจุบันเครื่องพิมพ์และกระดาษถูกดัดแปลงให้มีราคาถูกลง สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นตามยุคสมัยมาตลอด จนกลาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงยุคปัจจุบันที่หนังสือกลายเป็นสิ่งของที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันหนังสือกำลังเกิดการท้าทายครั้งใหม่กับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ซึ่งในตอนนี้ก็อาจจะเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งเช่นกันที่เรากำลังจะได้เห็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์หนังสือที่เปลี่ยนไป