โยโกะ โอกาวะ (Yoko Ogawa) นักเขียนร่วมสมัยมากความสามารถชาวญี่ปุ่น ผลงานของเธอเรียกได้ว่ากวาดมาแล้วแทบทุกรางวัลภายในประเทศ โดยมีลักษณะงานเขียนเชิงจิตวิทยาที่มีความเป็นมนุษย์อยู่สูง มักเล่าเรื่องในประเด็นเกี่ยวกับความทรงจำ ความโหดร้ายของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งบ่อยครั้งงานเขียนของเธอมีการกล่าวถึงร่างกายของผู้หญิงและบทบาทในครอบครัวจึงมีหลายคนให้ความเห็นว่าเธอมีความเป็นสตรีนิยมอยู่พอสมควร
โยโกะนั้นได้รับรางบันดาลใจงานเขียนบางส่วนมาจากหนังสือ “บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์” หนึ่งในหนังสือที่แสดงความโหดร้ายต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกันเล่มหนึ่ง โดยเธอได้รู้จักหนังสือเล่มดังกล่าวสมัยยังวัยรุ่นและได้เริ่มเขียนไดอารี่เป็นของตนเองหลังจากอ่านหนังสือจบ ทั้งยังมีการเขียนจดหมายโต้ตอบแอนน์ แฟรงค์ราวกับเป็นเพื่อนของเธออีกด้วย นอกจากนี้ยังมีนักเขียนอีกหลายคนที่เธอชื่นชอบไม่น้อยและส่งผลต่องานเขียนของเธอเช่นกัน อาทิ ฮารุกิ มูราคามิ , มิเอโกะ คาไน เป็นต้น
ผลงานของ โยโกะ โอกาวะ (Yoko Ogawa)
ความจำที่สาบสูญ

เรื่องราวลึกลับของเกาะประหลาดที่การหลงลืมของผู้คนนั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติราวกับเป็นชีวิตประจำวัน การหายาบสูญเป็นสิ่งสามัญ สิ่งสวยงามใดๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญหรือความประทับใจใดๆ ล้วนหายไปจากความทรงจำของทุกคนโดยปราศจากการตั้งคำถาม สิ่งเดียวที่รู้คือคำพูดของตำรวจที่กุมความลับของเกาะแห่งนี้เอาไว้ “การลบความจำที่ไม่จำเป็นให้หายไปอย่างรวดเร็วเป็นงานที่สำคัญที่สุดของพวกเรา ถ้ายังมีความจำที่ไร้ประโยชน์ก็ไม่ใช่เรื่องปกตินะ จริงไหม”
Eleven Dark Tales

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวม 11 เรื่องสั้นแนว Short Story Cycle ซึ้งมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนและเต็มไปด้วยกลิ่นอ้ายความกลัว โหดร้ายราวกับห้องดับจิต เรื่องของของผู้คนมากมายที่มีความเชื่อมโยงกัน อาทิ หญิงคนหนึ่งสูญเสียซึ่งลูกชายแวะเข้าไปในร้านขนมเค้ก ช่างตัดเย็บกระเป๋าสำหรับใส่หัวใจ เรื่องราวทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงกันภายใต้เมืองที่มีหอนาฬิกาที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของความตาย
The Housekeeper and the Professor

เรื่องราวของศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องที่มีความทรงจำเหลือเพียงแค่ 80 นาทีนับตั้งแต่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ เขาได้จ้างแม่บ้านเพื่อมาทำหน้าที่และดูแลสิ่งต่างๆ แทนรวมถึงการจดจำในเรื่องสำคัญๆ ก่อนที่ทั้งคู่จะมีความสัมพันธ์ที่สนิทกันมากขึ้น ในทุกๆ เช้าศาสตราจารย์จะสอนคณิตศาสตร์ให้เธอ ในขณะที่แม่บ้านที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์ก็ใช้ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจ จนทำให้ความทรงจำของศาสตราจารย์ค่อยๆ ดีขึ้น พร้อมๆ กับการเข้าใจในคณิตศาสตร์มากขึ้นของแม่บ้าน
สุดท้ายนี้หากนักอ่านท่านไหนที่สนใจอยากรู้จักนักเขียนท่านอื่นๆ และบทความเกี่ยวกับหนังสือที่ดีๆ น่อย่าแวะเข้ามาใหม่ได้ที่ aricle.eeeed นะคะ เรามีบทความดีๆ มาอัพเดทอยู่เสมอให้นักอ่านทุกท่านเข้าใจโลกของหนังสือให้มากขึ้น เลือกจะ Read เลือก Reeeed ค่ะ