อาลแบร์ กามูว์ (Albert Camus) นักเขียนและนักประพันธ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสที่เคยได้รับรางวัลโนเบลส์วรรณกรรมในปี 1957 ผลงานของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่สำคัญและมีคุณภาพสูงในวรรณกรรมโลก ผลงานที่มีชื่อเสียงของอัลเบร์ คามู ได้แก่ The Stranger) และ “เทอร์มินัส” (The Plague) ทั้งนี้เขายังเป็นนักประพันธ์ชื่อดังที่มีผลงานต่างๆ ที่ต่อยอดไปสู่การวิจารณ์สังคม และปัญหาทางสังคม อีกด้วย
กามูว์เกิดในครอบครัวครอบครัวเล็กๆ ในวัยเด็กเขาเรียนในโรงเรียนที่มีเงินไม่มากนัก ต่อในมหาวิทยาลัย คามูเลือกเรียนวิชาปรัชญาแทนที่จะเลือกสาขาวิชาที่ใช้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เทคโนโลยี หรือวิทยาศาสตร์เชิงกลของสมัยนั้นที่ได้รับความนิยม การศึกษาทางปรัชญามีผลให้เขาสนใจในการเขียนและมักนำปรัชญาต่างๆ ปรัชญาต่างๆมาใช้ในชีวิตบ่อยครั้ง ในช่วงต่อมาของชีวิตเขาคามูเป็นนักเขียนนวนิยายและนักประพันธ์ที่สำคัญของฝรั่งเศส เอกลักษณ์ของเขาคือการผสมผสานวรรณกรรมและปัญหาสังคมที่เขามองเห็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตมนุษย์ ผลงานของเขาได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1957
ผลงานของ อาลแบร์ กามูว์ (Albert Camus)
คนนอก : The Stranger
ผลงานชิ้นเอกของ “อัลแบร์กามูส์“ เล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของผู้ชายธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ซึ่งถูกดึงเข้าไปสู่การฆาตกรรมไร้สติอย่างไมรู้ตัว บนชายหาดอัลจีเรียร์ เบื้องหลังความน่าตื่นเต้นนี้ นักประพันธ์ได้แสดงออกถึงความเปลือยเปล่าของมนุษย์เวลาที่เผชิญกับความไร้สาระ และอธิบายสภาพความแปลกแยกแบบขาดการไตร่ตรอง รวมทั้งความอ่อนล้าทางจิตวิญญาณ ซึ่งแสดงถึงคุณสมบัติของชีวิตในศตวรรษที่ยี่สิบเป็นอย่างมาก
ผู้เที่ยงธรรม : Les Justes
“ผู้เที่ยงธรรม“ หมายถึงนักปฏิวัติที่เห็นการปกครองแบบกดขี่ขูดรีดประชาชนในรัสเซียสมัยนั้น แล้วต้องการต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่า มีการขับเคี่ยวทางความคิดระหว่างนักปฏิวัติ คนหนึ่งมีแรงบันดาลใจที่ความรักอันมีต่อประชาชนชาวรัสเซีย แม้จะเป็นความรักที่เป็นนามธรรม ไม่มีเสียงขานตอบและเป็นความรักที่ทำให้ไม่มีเวลาให้แก่ความรักธรรมดาของคนหนุ่มสาว ส่วนอีกคนหนึ่งมีแรงบันดาลใจจากความเกลียดต่อความชั่วร้ายต่างๆ ที่เห็นอยู่รอบตัว และต่อการทารุณกรรมที่ตัวเขาเองได้รับ
การเนรเทศและอาณาจักร
ความสุขที่เกิดจากความรักเพื่อนมนุษย์นั้นเป็นความสุขอันแท้จริงที่มนุษย์มีร่วมกัน สามารถแบ่งปันให้กันได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้มนุษย์จะถูกเนรเทศให้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกเพื่อรอคอยความตาย แต่ความรักเพื่อนมนุษย์นี้ก็จะช่วยให้มนุษย์สร้างอาณาจักร แห่งความสุขขึ้นมาได้ และสามารถเปลี่ยนการเนรเทศให้เป็นอาณาจักรได้เช่นกัน โดยไม่ต้องพึ่งพาธรรมชาติหรือพระเจ้าองค์ใด นับเป็นการตอกย้ำความคิดความเชื่อซึ่งอัลแบรต์ กามูส์ นักคิดนักเขียน ผู้รักเพื่อนร่วมโลกได้ถ่ายทอดไว้ตั้งแต่ต้น ในความเรียงเชิงปรัชญาเรื่องแรก “หัวและก้อยแห่งชีวิต” ที่เขาเขียนในวัย 22 ว่า “อาณาจักรของผมทั้งหมดก็คือโลกแห่งนี้”
สุดท้ายนี้หากนักอ่านอยากรู้จักนักเขียนท่านอื่นๆ ก็สามารถติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่ article.reeeed นะคะ เรามีบทความรีวิวแนะนำหนังสือและนักเขียนอัพเดทอยู่เสมอ หรือหากใครมองหาร้านหนังสือออนไลน์แวะมาเลือกชมได้ที่ Reeeed.com สุดท้านนี้เลือกจะ Read เลือก Reeeed นะคะ