หากกล่าวถึงผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ ก็ต้องกล่าวถึงชื่อของ โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ , ไอแซค อสิมอฟ และ อาเธอร์ ซี. คลาร์ก ซึ่งในวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับหนึ่งในสามคนที่กล่าวมาถึงประวัติและผลงานที่ชวนติดตามนั้นคือ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผลงานของเขาโดดเด่นไม่แพ้อีก 2 คนที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่รวมยุค ทั้งยังมีแนวคิดในด้านอวกาศอยู่ในนิยายที่เกิดขึ้นจริงในเวลาต่อมา ทั้งผลงานก็ยังถูกกล่าวถึงในปัจจุบันอยู่ตลอด และวันนี้เราจะพานักอ่านไปรู้จักประวัติและผลงานคร่าวๆ ของหนึ่งในนักเขียนวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนนี้กัน
ประวัติ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke) หนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งนิยายวิทยาศาสตร์
อาเธอ ซี คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke) เกิดวันที่ 16 ธันวาคม 1917 เป็นนักเขียนชาวอังกฤษ มีผลงานโดดเด่นด้านนิยายวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ โดดเด่นเป็นอย่างมาก ผลงานของเขาได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ตามมาในภายหลัง อาทิ ดาวเทียม การสำรวจทางอวกาศ โดยหลังเขาเสียชีวิต ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป้นวงโคจรที่ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานในการโคจรรอบโลก
อาเธอเป็นคนอังกฤษ แต่ไปใช้ชีวิตที่ศรีลังกา ทั้งยังได้รับสัญชาติศรีลังกาในเวลาต่อมา และใช้ชีวิตอยู่ที่นั้นจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เหตุผลเป็นเพราะความชื่นชอบในท้องทะเลที่งดงามและยังไม่ถูกรบกวนของศรีลังกา ทำให้เขาที่ชื่นชอบการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจจึงได้ตัดสินใจอาศัยอยู่ ณ ประเทศแห่งนี้
ด้วยชื่อเสียงกับผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งในฐานะนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เขาได้รับการสถาปนายศเป็น sir จากราชวงศ์ของอังกฤษ เพื่อยกย่องคุณงามความดีและเพื่อเกียรติยศที่ได้สร้างคุณประโยชน์ณานับประการ เพราะเขาเป็นผู้ให้กำเนิดแนวคิดเกี่ยวกับดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งในเวลาต่อมาเป็นหนึ่งในเทคโนดลยีที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
แนะนำหนังสือน่าสนใจของอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (Sir Arthur Charles Clarke)
แสงโลก
เป็นผลงานลำดับที่ 6 ของอาเธอ โดยเล่าเรื่องราวของเบอร์แทรม แซดเลอร์ที่ภายนอกนั้นได้รับภารกิจเป็นถูกส่งไปเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่หอคอยสังเกตุการบนดวงจันทร์ แต่แท้จริงแล้วคือการทำหน้าที่สายลับคอยสืบหาข้อมูลเพื่อรักษาสันติภาพของโลกและระบบสุริยะเอาไว้ให้คงอยู่อย่างลับๆ และไม่ให้ใครรับรู้ เรื่องราวภารกิจลับที่มีสันติภาพโลกเป็นแรงขับเคลื่อนเบื้องหลัง
นรกใต้ทะเลฝุ่น
เรื่องราวในอนาคตที่มนุษย์ก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี การสร้างถิ่นที่อยู่บนดวงจันทร์ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันอีกต่อไป ยานเซลีน 1 ได้ประสบเหตุการที่ไม่คาดฝัน หลังจากต้องตกลงสู่สถานที่ที่ไม่อาจตรวจพบในระบบได้ เต็มไปด้วยความมืดมิดทั้งเมื่อขอความช่วยเหลืออกไปก็ไม่สามารถระบุพิกัดได้ชัดเจน ด้วยระยะมีเวลา 6 วันที่น้ำและอาหารจะหล่อเลี้ยงพวกเขาได้ ระหว่างรอให้ทีมกู้ภัยที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อหาสถานที่ที่พวกเขาตกลงไปท่ามกลางคามมืดมึดของดวงจันทร์ที่สว่างเพียงไม่นานเท่าไหร่นักในแต่ละสัปดาห์
กล่าวได้ว่าผลงานของ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก นั้นได้จุดประกายหลายๆ สิ่งในวงการวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา นั้นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่นักเขียนท่านนี้ถูกยกย่องให้เป็นบิดานิยายวิทยาศาสตร์ ทั้งผลงานที่ยังถูกกล่าวถึงและเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนวิทยาศาสตร์ในยุคต่อๆ มาอีกเช่นกัน