อินเดียนั้นเป็นอีกหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่ออังกฤษโดยเฉพาะในช่วงยุคล่าอาณานิคมที่อินเดียได้กลายเป็น บริติชอินเดีย กล่าวได้ไม่เกินจริงว่าเป็นเหมือนประเทศอังกฤษแห่งที่สองที่มีบริษัทและศูนย์ราชการสำคัญของอินเดียมากมายเข้าไปตั้งไว้ ณ ประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมจนมาถึงปัจจุบัน แต่ถึงอย่างนั้นอินเดียก็เป็นประเทศที่ทำให้เกิดการลุกขึ้นมาเรียกร้องอิสระภาพของประเทศอาณานิคมอื่นๆ ของอังกฤษเช่นกัน โดยวันนี้ Reeeed จะพาคุณไปปสำรวจช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมเรื่องราวเบื้องหลังที่นำมาสู่จุดสิ้นสุดจักรวรรดิอังกฤษ
อินเดียได้รับอิสระภาพจากอังกฤษ
ในปี 1947 อินเดียได้รับอิสระภาพจากอังกฤษ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากนโยบายของอังกฤษหลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายจึงมีการพิจารณาคืนอิสระภาพให้กับประเทศอาณานิยมต่างๆ ประกอบกับอินเดียเองก็เรียกร้องอิสระภาพมาอย่างต่อเนื่องเพราะการปกครองที่ไม่เป็นธรรมของอังกฤษที่พยายามผลักดันชาวอินเดียที่นับถืออิสลามเข้ามามีบทบาท ทำให้ชาวอินเดียส่วนมากรู้สึกไม่พอใจกับการกระทำดังกล่าว
โดยแม้จะมีการคืนอิสระภาพให้แก่อินเดีย แต่อังกฤษก็ยังมีข้อเรียกร้องหลายๆ อย่างระหว่างการเจรจาต่อรองเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการมอบอิสระภาพให้กับทางอินเดีย โดยทางอินเดียต้องการการแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐออกอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม อังกฤษเสนอแผนให้รัฐบาลของรัฐมีอำนาจจำกัดและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลางอยู่เช่นเดียวกับอังกฤษ
ซึ่งท้ายที่สุดอินเดียตกลงยอมรับข้อตกลงต่างๆ ของอังกฤษและสร้างรัฐบาลแบบสหพันธรัฐ ซึ่งจะประกอบด้วยรัฐบาลกลางที่มีอำนาจในเรื่องสำคัญต่างๆ เช่น กองทัพ นโยบายและรัฐบาลของรัฐที่มีแบ่งเป็น 18 รัฐ โดยมีอิสระในการดำเนินการในเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษา และปกครองท้องถิ่น เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 อินเดียได้รับอิสระภาพอย่างเป็นทางการ โดยนอกเหนือจากการมอบอิสระภาพให้อินเดียแล้วนั้นยังต้องมีการแบ่งแยกดินแดนปากีสถานด้วย ซึ่งนำไปสู่การเผชิญหน้าของกลุ่มชาติพันธ์และศาสนาที่แตกต่างกันนั้นคือ ฮินดูและอิสลามจนนำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งสองฝ่าย
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถาน
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่ออินเดียได้รับอิสระภาพจากอังกฤษและเกิดการแบ่งแยกเป็นสองประเทศในวันที่ 15 สิงหาคม 1947 ความขัดแย้งที่สำคัญคือเรื่องการแบ่งแยกการปฏิบัติของอินเดียตามลักษณะชาติพันธุ์ ศาสนา และประชากรในพื้นที่ที่มีชามุสลิม ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาที่ต่างกัน.
จนนำไปสู่การย้ายถิ่นฐานระหว่างชาวฮินดูและชาวมุสลิมกว่า 15 ล้านคน โดยพื้นที่ที่มีชาวฮินดูอยู่กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่กลายเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน. การย้ายถิ่นฐานนี้เกิดขึ้นรวดเร็วและเกิดการปะทะกันของทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้เกิดการสังหาร ฆ่าฟัน ล้มตายไปไม่น้อย และด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทั้งสองฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมในทั้งสองประเทศ
โดยมีผู้ลี้ภัยและอพยพมากมายได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต มีการโจมตี วางระเบิดในที่สาธารณะ การทำลายทรัพย์สิน ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและปากีสถานที่ไม่อาจกลับมาเชื่อมสัมพันะ์กันได้จนถึงปัจจุบัน
หนังสือ ประวัติศาสตร์ลับปิดฉากจักรวรรดิอังกฤษ INDIAN SUMMER
ผลงานของ อเล็กซ์ ฟาน ทันซัลมานน์ ที่ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวในช่วงที่อินเดียได้เรียกร้องอิสระภาพจากอังกฤษ หลังจากที่การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้อังกฤษที่แต่เดิมทำหน้าที่จัดระเบียบโลกและมีอาณานิคมของตนเองมากมายนั้นเริ่มอ่อนแอลง บทบาทในฐานะมหาอำนาจและศูนย์กลางของโลกถูกสั่นคลอน ประกอบภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้อังกฤษสุญเสียดินแดนที่ตนเองเคยครอบครองไปไม่น้อยทั้งยังกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาตกต่ำที่สุดของจักรวรรดิอังกฤษ ทำให้หลายประเทศประกาศตนเองเรียกร้องอิสระภาพมากมาย
โดยหนึ่งในอาณานิยมที่สำคัญของอังกฤษนั้นคืออินเดีย ที่หลังจากได้รับอิสระภาพก็มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาที่ได้กลายเป็นปากีสถานในภายหลัง โดยความขัดแย้งดังกล่าวได้นำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย โดย อเล็กซ์ ฟาน ทันซัลมานน์ ได้พยายามหาข้อมูลจนพบเอกสารสำคัญมากมาย โดยเฉพาะเอกสารและหลักฐานหลายๆ อย่างที่ได้กล่าวถึงบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการประกาศอิสระภาพและความขัดแย้งดังกล่าว อาทิ ชวาหะร์ลาล เนห์รู , มหาตมะ คานธี , ลอร์ด หลุยส์เมาน์แบตเทนกับเลดี้เอ็ดวินา ผู้สำเร็จราชการคู่สุดท้ายของบริติชอินเดีย และ โมฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งปากีสถาน แม้แต่กบัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 8 ในสมัยยังเป็นมงกุฎราชกุมาร
โดยเฉพาะภาพถ่ายคู่ของ ชวาหะร์ลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษ กับ เลดี้เอ็ดวินา ที่แสดงให้เห็นถึงความสนิมชิดเชื้อจนทำให้หลายคนตั้งข้อสังเกตุในความสัมพันธ์ แต่ถึงอย่างนั้นในสายตาของ อเล็กซ์ ฟาน ทันซัลมานน์ นั้นต้องการเพียงนำผู้อ่านไปพบกับส่วนหนึ่งของเรื่องราวในอินเดียที่เป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลกระทบจนกลายเป็นอินเดียในทุกวันนี้และเป็นดั่งแรงกระเพื่อมที่ส่งผลต่ออาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในช่วงเวลาดังกล่าวให้ลุกขึ้นมาเรียกร้องอิสระภาพ
อเล็กซ์ ฟาน ทันซัลมานน์ (Alex von Tunzelmann) ผู้เขียน Indian Summer เล่าไว้ในคำนำฉบับพิมพ์ปี 2017 ในวาระครบรอบ 70 ปีของอิสรภาพอินเดีย ว่าเธอเริ่มต้นจากความสนใจและการทำวิจัยหาข้อมูลเกี่ยวกับลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบตเทน กับเลดี้เอ็ดวินา เมานท์แบตเทน ผู้สำเร็จราชการและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคู่สุดท้ายแห่งบริติชอินเดีย และเมื่อเธอตามไปหาข้อมูลที่พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเนห์รู เมมโมเรียล (The Nehru Memorial Museum Library – NMML) ในกรุงเดลี ปี 2005 เธอสะดุดตากับภาพถ่ายเลดี้เมานท์แบตเทนกับชวาหะร์ลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียอิสรภาพระหว่างเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัย ทั้งสองเกาะกุมมือกันอยู่ เธอบอกว่าเรื่องความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสองคนนี้ เป็นเรื่องที่รู้กันและถูกพูดถึงกันทั่วอยู่แล้ว และได้รับการยืนยันโดยลูกสาวของเลดี้เอ็ดวินา และหลานสาวของเนห์รู แต่จะมีเรื่อง “สัมพันธภาพทางกาย” หรือไม่นั้น มีเพียงคนสองคนเท่านั้นที่รู้ และทั้งสองก็ตายไปแล้ว แต่ภาพการเกาะกุมมือกันของทั้งสองในยุคนั้น “โดยเฉพาะระหว่างหญิงแต่งงานแล้วกับพ่อม่าย” สร้างความช็อกให้กับคนจำนวนมากทั้งในอังกฤษและอินเดีย สำหรับเธอในฐานะนักประวัติศาสตร์ สนใจการแปรความในเรื่องความสัมพันธ์อันพิเศษนี้ของทั้งสองกับผลกระทบทางการเมือง