ปัจจุบันสิทธิสตรีเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายๆ คนให้ความสำคัญและมีการรณรงค์ให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างกว้างขวางในหลายๆ ประเทศ นั้นเพราะที่ผ่านมาค่านิยมส่วนใหญ่มักเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ จริงอยู่ที่ในประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาสิ่งเหล่านี้ค่อยๆ เสื่อมลงไป แต่ก็ต้องยอมรับว่า ณ ปัจจุบันมันไม่ได้จางหายไปเสียทีเดียว ยังมีผู้หญิงที่ถูกทำร้ายและเอาเปรียบอีกมากมายแม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว หนังสือ ปลุกพลังหญิงให้ยิ่งใหญ่ THE MOMENT OF LIFT ของ เมลินดา เกตส์ (Melinda Gates) เป็นอีกหนึ่งผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้นที่เราอยากจะพาทุกคนไปดูกันว่าความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศยังมีอยู่ขนาดไหน
รีวิวหนังสือ ปลุกพลังหญิงให้ยิ่งใหญ่ THE MOMENT OF LIFT
หนังสือติดอันดับขายดีของ New York Times ผลงานของ เมลินดา เกตส์ (Melinda Gates) ภรรยาสุดที่รักของ บิลล์ เกตส์ โดยตัวเธอนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นอีกคนดังของสังคมที่มักแสดงออกถึงสิทธิสตรีและความเท่าเทียม รวมไปถึงเรื่องการโดดเอารัดเอาเปรียบต่างๆ โดยหนังสือเล่มนี้เธอได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงานและใช้ชีวิตที่ต้องพบเห็นผู้หญิงและเด็กได้รับความไม่เท่าเทียมจากสังคมจากหลายๆ แง่มุม โดยเธออยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่กระจายเรื่องราวเหล่านั้นออกไปให้โลกได้รับรู้และมองเห็นถึงความยากลำบากของผู้หญิงท่ามกลางสังคมที่บีบบังคับพวกเธอเหล่านั้น
หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกมาเป็น 9 บทที่สะท้อนปัญหาที่ผู้หญิงต้องเจอจากหลายๆ สังคม แต่ปัญหาเหล่านั้นก็สร้างความเจ็บปวด ความยากลำบากในการใช้ชีวิต บางปัญหาถึงขั้นไม่ต่างจากการโดนริดรอนสิทธิเสรีภาพของตัวพวกเธอเอง หนังสือเล่มนี้จึงได้หยิบประเด็นเหล่านั้นมาบอกเล่าให้ผู้อ่านทุกคนได้รับฟังกันว่ามีอะไรบ้าง อาทิ
ยกสายตา: เด็กหญิงในโรงเรียน
เมลินดาได้เล่าเรื่องของโซนาหนึ่งในครูที่อยู่ในมูลนิธิของเธอ โดยโซนานั้นเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยกองขยะสูงถึงสองเมตร เมลินดาและแกรีเพื่อนจากมูลนิธิได้พบกับเธอเมื่อปี 2011 โซนามาหาเมลินดาและแกรีพร้อมบอกว่าอยากมีครู นั้นทำให้ทั้งสองได้พูดคุยกับแม่โซนา โดยเธอหวังว่าลูกของเธอจะได้รับการศึกษาเพื่อที่จะไม่ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางกองขยะเช่นเดียวกับเธอ เมลินดาและแกรีจึงเข้าใจความสำคัญของการศึกษามากยิ่งขึ้น เมื่อมีเด็กผู้หญิงสักคนได้รับการศึกษามันจะส่งต่อโอกาสอีกมากมายตามมา ทั้งยังอัตตราการรู้หนังสือที่เพิ่มขึ้น และการได้รับการศึกษาของโซนาก็เป็นอีกหนึ่งกรณีที่ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงเหล่านั้น
ความไม่เท่าเทียมอันเงียบงัน: งานไร้ค่าตอบแทน
เธอเล่าเรื่องของจำปาหญิงสาววัยยี่สิบสองปีในพื้นที่ห่างไกลของอินเดีย จำปาอาศัยอยู่กับครอบครัวของสามีและปฏิบัติตามหลักการฮินดูอย่างเคร่งครัดเสมอ แต่รานีลูกสาวของเธอนั้นกำลังป่วยด้วยโรคขาดสารอาหาร แต่ถึงอย่างนั้นพ่อสามีก็ไม่ยอมให้เธอพาลูกไปรักษาและพักรักษาตัวเป็นเวลาสองสัปดาห์ในสถานที่ทำการของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ โดยให้เหตุผลเพียงเธอต้องอยู่เพื่อทำอาหารให้ครอบครัว แม้เด็กจะเสียชีวิตก็ห้ามไปเด็ดขาด ก่อนที่สาธารณะสุขจะเข้ามาช่วยเหลือรานีในเวลาต่อมาได้ทัน ในประเทศที่ยากจนผู้หญิงมักมีหน้าในบ้านมากมาย ทั้งยังไม่เคยได้รับค่าตอบแทนใดๆ เพราะทุกคนมองว่าเป็นหน้าที่ภรรยา สิ่งเหล่านี้เหมือนโซ่ตรวนที่ทำลายความฝันและอิสระภาพอย่างแท้จริง
เด็กหญิงไม่มีเสียง: การบังคับให้เด็กแต่งงาน
เมลินดามีโอกาสได้ไปอินเดียและได้ไปเยี่ยมเยีบนโรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยในขณะครูใหญ่กำลังคุยกับเธอมีสายโทรศัพท์เข้ามาพร้อมกับเสียงของผู้ชายและเสียงของหญิงสาวที่กำลังถูกทำร้ายร่างกาย เมื่อเธอถามจึงได้คำตอบว่าสามีกำลังทุบตีหญิงสาวหลังจากที่บ้านของสามีกลับไปเรียกสินสอดเพิ่มเติมแต่บ้านหญิงสาวไม่มีเงินจ่าย ทำให้พวกเขาโกรธและทำร้ายหญิงสาว ในบางสังคมผู้หญิงต้องออกเรือนตั้งแต่อายุสิบขวบ พวกเธอสูญเสียโอกาสต่างๆ ในชีวิตมากมาย สูญเสียเพื่อน สังคม โอกาสทางการศึกษา และถูกคาดหวังกับการทำงานบ้านและดูแลสามีไปตลอด
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เมลินดาพบเจอมานั้นแสดงให้เห็นถึงสังคมที่โหดร้ายเพียงใดของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยเฉพาะในประเทศที่ยากจน เรื่องราวที่ถูกเขียนในหนังสือเล่มนี้ล้วนเต็มไปด้วยความเจ็บปวดของผู้หญิงที่ถูกเอาเปรียบมากมายและเธอก็อยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่ส่งต่อความอยุติธรรมนี้ให้ถูกแก้ไข สามารถติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่ article.reeeed นะคะ เรามีบทความรีวิวแนะนำหนังสือและนักเขียนอัพเดทอยู่เสมอ หรือหากใครมองหาร้านหนังสือออนไลน์แวะมาเลือกชมได้ที่ Reeeed.com สุดท้านนี้เลือกจะ Read เลือก Reeeed นะคะ